|
|||
|
|
กว่า 100
ปีที่ผ่านมา
ยังไม่มีใครสามารถผสมพันธุ์บัวฝรั่งให้ได้สีน้ำเงินเลยแม้แต่คนเดียว
วารสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆได้กล่าวถึงความพยายามและความตั้งใจที่จะให้เกิดผลสำเร็จนี้ไว้
ดังนี้ |
|
Joseph Bory Latour-Marliac ผู้ประสพความสำเร็จในการผสมพันธุ์บัวฝรั่งคนแรกของโลก
ชาวฝรั่งเศส
ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง
“The New Hardy Water Lilies” ในวารสาร
“The Garden” ของสมาคมพืชสวนอังกฤษ
ปี ค.ศ. 1893 ว่า “...ภาระสำคัญที่ควรทำต่อไป
คือ
การผสมพันธุ์ระหว่างบัวฝรั่งพวก
Castalias (ปัจจุบันคือ
บัวสกุลย่อย
Nymphaea) กับบัวเขตร้อน
Cyanea ที่หลากหลายด้วยบัวพันธุ์ดอกสีฟ้า-น้ำเงิน
(ปัจจุบันคือบัวสกุลย่อย
Brachyceras)
ให้ได้บัวฝรั่งที่มีดอกสีน้ำเงินขึ้นมาให้ได้
เป็นงานที่ท้าทายและเร่งเร้าความกระตือรือร้นของนักผสมพันธุ์บัวทั้งหลาย” |
Joseph
Bory Latour-Marliac ได้กล่าวเพิ่มเติมในบทความเรื่อง
“Hardy Hybrid Water Lilies” ในวารสาร
“The Garden” ปี ค.ศ. 1899
ว่า “ผมไม่ควรจบบทความที่ค่อนข้างยาวนี้โดยไม่ยกย่องความโดดเด่นมีเสน่ห์ของบัวพวก
Cyanea ที่ให้ดอกสีฟ้า-น้ำเงิน
รวมทั้งความผิดหวังที่ยังไม่มีใครสามารถผสมพันธุ์บัวฝรั่งกับบัวพวก
Cyanae นี้ได้
เพราะถ้าทำได้จะเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
ที่พวกเราจะได้บัวฝรั่งสีน้ำเงินมีกลิ่นหอมชื่นใจ
เป็นอีกหนึ่งในบัวประดับของพวกเรา” |
ต่อมาเมื่อปี
ค.ศ. 1989 Jacqueline Reditt ได้เขียนบทความที่ชื่อ
“The Quest for the Hardy Blue” ในหนังสือพิมพ์
“Cyprus Weekly” ฉบับเทศกาลคริสมาศ
โดยได้กล่าวถึง
Andreas Protopapas วิศวกรผู้หลงใหลในการผสมพันธุ์บัวที่มีชื่อเสียงของประเทศไซปรัส
ว่า “คุณไม่สามารถรู้จัก
Andreas Protopapas เพียงแค่รูปร่างหน้าตาของเขา
เมื่อได้พบคุณจะเห็นว่าเขามีกริยาอ่อนโยน
มีบุคลิกเช่นบุคคลธรรมดา
ที่ทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหัวหน้าวิศวกรในบริษัทต่างประเทศที่
|
“...
เขาอาจจะเป็นคนช่างเพ้อฝัน
แต่เขาก็แสดงให้เห็นว่าโอกาสที่จะผสมพันธุ์ให้ได้บัวฝรั่งสีน้ำเงินนั้นยังมีอยู่
แม้ว่าจะไม่มากนัก
เขากล่าวว่า
“มันอาจจะมีมูลค่าหลายพันปอนด์
แต่จะว่าไปแล้ว
โอกาสสำเร็จนั้นยังคงห่างไกลมาก”
อย่างไรก็ดีเขายังคงมีความหวังที่จะผสมพันธุ์ใหม่ให้ได้ในอนาคตอันใกล้
และได้ตั้งชื่อบัวฝรั่งสีน้ำเงินไว้ล่วงหน้าว่า
‘Nicoletta’ ตามชื่อภรรยาของเขา
” |
||
ล่าสุดในปี
ค.ศ. 2007 Peter John May ได้เขียนบทความเรื่อง
“A Hero of Water Gardening: Joseph Bory Latour-Maliac, The Lily Man” ในเว็บ www.watergardenermagazine.com ได้กล่าวถึง
Joseph Bory Latour-Maliac
นักผสมพันธุ์บัวที่มีชื่อเสียงในอดีตเมื่อ
100
กว่าปีมาแล้ว
ว่า “งานทดลองหลายชิ้นของเขาจบลงด้วยความล้มเหลว
เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะผสมข้ามระหว่างบัวฝรั่งกับบัวเขตร้อนเพราะพันธุกรรมต่างกัน
เราไม่ทราบว่า
เขาตระหนักถึงความเป็นไปไม่ได้นี้หรือไม่
แต่มันหมายความว่าความทะเยอทะยานอย่างยิ่งของเขาที่จะผสมให้ได้บัวฝรั่งสีน้ำเงิน
จะไม่ประสบผลสำเร็จตลอดไป
เนื่องจากยีนที่เป็นพันธุกรรมของสีน้ำเงินนั้นมีอยู่เฉพาะบัวเขตร้อนในกลุ่ม
Apocarpiae เช่น
บัวอียิป
ที่ชื่อ Nymphaea caerulea” แม้ว่าเวลาผ่านไปกว่า
100 ปี
นักผสมพันธุ์บัวยังคงมีความทะเยอทะยานที่จะผสมให้ได้บัวฝรั่งสีน้ำเงิน
อันเป็นความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่
ให้สำเร็จให้จงได้ Knotts, Kit. 2003. HOW DO YOU TELL THE DIFFERENCE BETWEEN
TROPICAL AND HARDY WATERLILIES?. www.victoria-adventure.org Latour-Marliac, Joseph Bory.
1893. THE NEW HARDY WATER LILIES. The
Garden, Dec. 23, 1893: 582-584. Latour-Marliac, Joseph Bory.
1899. HARDY HYBRID WATER LILIES. The
Garden, Mar. 18, 1899. May, Peter John. 2007. A HERO OF WATER GARDENING: JOSEPH BORY
LATOUR-MARLIAC, THE LILY MAN. www.watergardenermagazine.com Nash, Helen. 1996. PERRY D. SLOCUM: AN AMERICAN LEGACY.
Water Gardening. April 1996. Pagels, Walter. 2000. CHROMOSOME COUNTS OF WATERLILIES AND OTHER
NYMPHAEACEAE. www.victoria-adventure.org Reditt, Jacqueline. 1989. THE QUEST FOR THE HARDY BLUE. Slocum, Perry D. 2005.
WATERLILIES AND LOTUSES: SPECIES CULTIVARS AND NEW HYBRIDS. Timber Press,
Inc. |
Nymphaea 'Siam Blue Hardy'
The World's
First Blue Hardy Waterlily
English
| Thai
Profile - Pairat Songpanich
WGI
ONLINE
Journal Table of Contents
Water Gardeners International |